วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2559

วิธีการตั้งค่ารหัสผ่านของคุณใน Ubuntu

          สวัสดีค่ะ คุณผู้อ่านทุกท่าน วันนีกุ้งนางกลับมาพร้อมรบบปฏิบัติการ Ubuntu วันนี้จะมาพาแก้รหัสผ่านที่เราเคยตั้งไว้ตั้งแต่เริ่มติดตั้งระบบปฏิการแล้วเกิดการลืม หรือผิดพลาดหลายๆ ประการ 
ไปดูกันเลยค่ะว่าเราจะทำกันยังไง

สำหรับวันนี้กุ้งนางขอจำลองจากUbuntu server virtualbox นะคะ


  ทำการเริ่มระบบปฏิบัติการโดยกดที่สัญลักษณ์ลูกษรสีเขียวที่เขียนว่า Start


รีบูตเข้าสู่โหมดการกู้คืน
เลือก *Advanced options ions for Ubuntu แล้วกด Enter ที่แป้นพิมพ์

เลือก *Ubuntu, with Linux 4.2.0-27-generic (recovery mode) แล้วกด Enter ที่แป้นพิมพ์

 แล้วก็จะขึ้นหน้าตาแบบนี้ให้เรารอให้มันโหลดเสร็จ

พอโหลดเสร็จมันก็จะขึ้นหน้าตาแบบนี้ขึ้นมาให้เราเลื่อนลูกศรที่แป้นพิมพ์ไป
เลือก *root                       Drop to root shell prompt   แล้วเราก็กด Enter ที่แป้นพิมพ์

แล้วก็จะเกิดหน้านี้ให้เห็น ให้สังเกตุที่ด้านล่างของหน้าจอนะคะ จะปรากฎช่องดำๆ มีตัวหนังสือ และมีช่องให้เราพิมพ์อะไรซักอย่างลงไป

และบรรทัดแรกที่เราจะพิมพิมพ์ลงไปคือ..... ดังภาพเลยค่ะ แลัวเราก็กด Enter ที่แป้นพิมพ์

บรรทัดสองที่เราจะพิมพ์ คือ.....ตามภาพค่ะ แลัวเราก็กด Enter ที่แป้นพิมพ์

พอเรากด Enter มาแล้ว ระบบก็จพให้ Username ของระบบมา (ตัวหนังสือสีน้ำเงิน) ซึ่ง Username ของกุ้งนางคือ kung 

แล้วก็เริ่มเข้ากระบวนการแก้ระหัสผ่านแล้วค่ะ ในบรรทัดที่สามที่เราจะพิมนี้คือ
passwd username ซึ่ง username ในที่นี้คือตัวอักษรสีน้ำเงินที่ระบบจะให้มาดูที่เครื่องของตัวเองได้เลยนะคะ



สำหรับกุ้งนางก็ต้องพิมพ์..... ตามภาพค่ะ

แล้วเราก็กด Enter ที่แป้นพิมพ์

 แล้วเราก็กรอกรหัสผ่านใหม่ที่เราจะตั้งให้ Ubuntu ของเราเลยค่ะ ตั้งเสร็จก็กด Enter ที่แป้นพิมพ์ค่ะ

กรอกระหัสผ่านใหม่อีกครั้งค่ะ แล้วกด Enter ที่แป้นพิมพ์

พอขึ้นแบบนี้หมายคาวมว่ารหัสผ่านของเราถูกเปลี่ยนใหม่เรียบร้อยแล้วค่ะ

แล้วเราก็ออกได้เลยค่ะ โดยพิมพ์ Exit 

แล้วกด Enter ที่แป้นพิมพ์ได้เลยค่ะ

 แล้วออกมานี่หน้านี้เราเลือก resume   Resume normal boot กด Enter ที่แป้นพิมพ์

มาหน้านี้ก็ กด Enter ที่แป้นพิมพ์ค่ะ

รอระบบโอัพโหลดอีกครั้ง

โหลดเสร็จก็มาที่หน้านี้ แล้วเราก็สามารถเข้าระบบโดยรหัสผ่านที่เราสร้างขึ้นได้เลยค่ะ




เย้! สำเร็จแล้ว สำหรับวันนี้ก็ขอขอบคุณที่เข้ามาอ่านความรู้ทีไม่มากก็น้อยนะคะ

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2559

สวัสดีค่ะ  วันนี้กุ้งนางจะมารีวิวการเลือกอุปกรณ์ประกอบคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับงานสำนักงาน ซึ่งมีเกณฑ์ ดังนี้ค่ะ
 * (จอขนาดไม่น้อยกว่า 18.5 นิ้ว) ราคา 16,000 บาท
คุณลักษณะพื้นฐาน
- มีหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ไม่น้อยกว่า 2 แกนหลัก (2 core) มีความเร็วสัญญาณนาฬิกาพื้นฐาน
ไม่น้อยกว่า 3.3 GHz หรือดีกว่า จำนวน 1 หน่วย
- มีหน่วยความจำหลัก (RAM) ชนิด DDR3 หรือดีกว่า มีขนาดไม่น้อยกว่า 4 GB
- มีหน่วยจัดเก็บข้อมูล (Hard Drive) ชนิด SATA หรือ ดีกว่า ขนาดความจุไม่น้อยกว่า 1 TB หรือ ชนิด
Solid State Disk ขนาดความจุไม่น้อยกว่า 100 GB จำนวน 1 หน่วย
- มี DVD-RW หรือดีกว่า จำนวน 1 หน่วย
- มีช่องเชื่อมต่อระบบเครือข่าย (Network Interface) แบบ 10/100/1000 Base-T หรือดีกว่า จำนวน
ไม่น้อยกว่า 1 ช่อง
- มีแป้นพิมพ์และเมาส์
- มีจอภาพแบบ LCD หรือดีกว่า มี Contrast Ratio ไม่น้อยกว่า 600 : 1 และมีขนาดไม่น้อยกว่า
18.5 นิ้ว จำนวน 1 หน่วย

ซึ่งอุปกรณ์ต่างๆที่เลือกเพื่อมาตอบสนองความต้องการออกมาได้ ดังนี้ค่ะ

อันดับแรกนะคะ 
1. CPU

INTEL Pentium G4400







CPU Intel Pentium G4400 ที่ราคา 2,220 บาท กำลังพอดีเลยค่ะ การใช้งานอยู่ในสำนักงานที่ไม่ได้เน้นหนักด้านกราฟฟิกมากมาย แต่เน้นที่งานเอกสารเป็นหลัก ก็กำลังพอใช้ค่ะ 
จาก JiB http://notebookspec.com/pc-cpu/INTEL-Pentium-G4400/214 


2. RAM

KINGSTON DDR3 8GB 1333






 แรม 8 GB ราคา 1,230 บาท สำหรับงานเอกสารงานทั่วไป ถือว่ามีความเร็วที่มากเลยทีเดียวค่ะ
จาก Advice : http://notebookspec.com/pc-ram/KINGSTON-KINGSTON-DDR3%208GB%201333/74


3. Graphic Card

1GB (III) PCIe GT610 'LongWell' 64bit



มี Graphic Card ไว้เผื่อใช้งานกราฟฟิกเล็กๆ น้อยๆ ด้วยนับว่าดีค่ะ ซึ่งราคาอยู่ที่ 1,180 บาท
จาก Advice : https://www.advice.co.th/product/graphic-card/nvidia-600-series/1gb-iii-pcie-gt610-longwell-64bit-A

4. Harddisk

TOSHIBA 1TB







สำหรับ Harddisk SATA ความจุที่ 1 TB ก็โอเคร เหลือกินเหลือใช้แล้วค่ะ ราคาคือ 1,610 บาท

จาก Advice http://notebookspec.com/pc-hdd/Toshiba-Toshiba-1TB/115

5. Power Supply

FSP HEXA 500W



Power Supply ATX 12 v. กำลังไฟ 500 W ถือว่าอยู่ในมาตรฐานค่ะ ราคา 1,650 บาท
จาก : http://notebookspec.com/pc-psu/FSP-HEXA%20500W/116

6. DVD ROM
DVD RW IDE 16X LG-Re (B/P)


DVD ROM ก็จำเป็นต้องมีไว้เพื่อการใช้งานที่สะดวกสะบายทุกๆ ด้านค่ะ ราคาอยู่ที่ 350 บาท
จาก Advice https://www.advice.co.th/product/optical-disk-drive/dvd-rw-rebuilt-/dvd-rw-ide-16x-lg-re-b-p-

7. Main Board

GIGABYTE GA-H81M-DS2




Main Board ก็ต้องเข้ากับอุกรณ์ที่เราเลือกไว้ด้วย จะได้ถูกรุ่น ราคาทีี่ 1,820 บาท
จาก JiB : http://notebookspec.com/pc-mb/GIGABYTE-GA-H81M-DS2/352

8. Case

AERO COOL V3X Advance Black Edition




สำหรับเคสก็เลือกที่ว่าเข้ากับอุปกรณ์ภายในของเราได้หรือไม่นะคะ เคสรุ่นนี้ก็มีช่องระบายความร้อนเยอะดี ราคา 950 บาท
จาก JiB http://notebookspec.com/pc-case/AERO%20COOL-V3X%20Advance%20Black%20Edition/32

9. Monitor

LCD Square 17'' (Rebuilt, 1-3 Dot) DELL (B) 



จอภาพ จอแสดงผลขนาด 19.45 นิ้ว Contrast Ratio Static : 600:1 ราคา 3,420 บาท

10. Keyboard 
USB Keyboard OKER (KB-377) Black


แป้นพิมพ์ OKER  107 ปุ่มพิมพ์ พอร์ต USB ราคา 180 บาท

11. Mouse

OPTICAL MOUSE E-BLUE Cobra 108 (Black)


OPTICAL  MOUSE พอร์ตเชื่อมต่อ USB ราคา 490 บาท





ค่ะเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับงานสำนักงาน งบก็จบที่ราคา 15,190 บาท คงเหลือ 810 บาท ก็สามารถเอาไปปรับซื้ออุปกรณ์ที่คิดว่าถ้าได้เกรดดีกว่าในราคาที่พอเหมาะก็สามารถปรับได้ตามความต้องการเลยค่ะ หรือสามารถนำไปซื้ออุปกรณ์เสริมอย่างอื่นได้นะคะ ^^



สำหรับวันนี้ ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยือนนะคะ บ๊าย บาย

สวีดัส เอ้ย! สวัสดีค่ะ กุ้งนางมาอีกแล้วค่ะ สำหรับวันนี้เราจะมาเรียนรู้ 

วิธีลง UBUNTU 15.04 กันค่ะ ไปดูเลยดีกว่า ว่า..... ติดตั้งยังไง

  

          Ubuntu เป็นระบบปฏิบัติการแบบ Open Source ที่ให้โหลดมาใช้งานแบบฟรีๆ เป็น Linux Distro นึงที่เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน ในบทความนี้กุ้งนางจะมาแนะนำวิธีติดตั้ง Ubuntu 15.04 


วิธีติดตั้ง Ubuntu 15.04

           1. เรามาเริ่มการติดตั้งกันเลยค่ะ ก่อนอื่นก็ต้องบูตเข้าแผ่นติดตั้งก่อนนะคะ จะบูตผ่าน CD/DVD หรือ USB ก็แล้วแต่ตามที่ถนัดค่ะ เมื่อบูตเข้ามาหน้า Desktop Ubuntu แล้วก็จะเป็นหน้าตาแบบนี้ ดังภาพข้างล่างเลยค่ะ หน้านี้สามารถลองเล่นดูก่อนติดตั้งได้ค่ะ ถ้าพร้อมแล้วก็คลิกที่ Install Ubuntu 15.04 เลยค่ะ



           2.หลังจากคลิกแล้วก็จะมีหน้าต่างติดตั้ง Ubuntu 15.04 ขึ้นมาดังภาพด้านล่าง ให้เลือกภาษาตามที่ต้องการเลยค่ะ ส่วนตัวกุ้งนางเลือก ภาษาไทยค่ะ(ภาษาต่างประเทศไม่ถนัด)  เมื่อเลือกแล้วก็คลิกที่ปุ่ม ดำเนินการต่อ ได้เลย



         3.จากนั้นระบบก็จะเช็คความต้องการพื้นฐานก่อนติดตั้ง เพื่อเตรียมการติดตั้ง Ubuntu อย่างในภาพก็จะบอกว่า มีพื้นที่ว่างดิสก์เหลืออยู่ 6.6 GB ซึ่งเตรียมไว้โดยการแบ่งพื้นที่ HDD มาเพื่อจะติดตั้งโดยเฉพาะค่ะ และจะเช็คการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เพื่ออัพเดทแพ็คเก็จ ซึ่งส่วนนี้ไม่ต้องต่อก็ได้ครับเราสามรถไปอัพเดททีหลังได้
      -สามารถติกที่ ดาวน์โหลดส่วนปรับปรุงขณะทำการติดตั้ง ได้หากต้องต้องอัพเดทโปรแกรมใหม่ๆระหว่างติดตั้ง กุ้งนางไม่ติกเพราะมันจะช้า เอาไว้ไปอัพเดททีหลังจะดีกว่าค่ะ
      -สามารถติกที่ ติดตั้งซอฟต์แวร์นี้ ได้ ส่วนนี้จะเกี่ยวกับพวกมัลติมิเดีย แนะนำให้ติกไว้เลยค่ะ
เมื่อเราเช็คส่วนต่างๆแล้วก็คลิกที่ปุ่ม ดำเนินการต่อ ได้เลย



         4. จากนั้นก็จะมาหน้านี้ค่ะ จะเป็นแบบการติดตั้ง ปกติถ้ามีระบบ Windows หรือ Linux ตัวอื่นอยู่มันจะถามว่าจะติดตั้งคู่กันมั้ย หรืออีกแบบอาจจะเป็นลบระบบเดิมแล้วติดตั้ง Ubuntu 15.04 ลงไปค่ะ อันนี้จะเป็น HDD เปล่าที่จำลองมาเลยไม่มีให้เห็น แนะนำเลยถ้ามีหลายระบบ ให้แบ่งไดร์ฟไว้ 1 ไดร์ฟเปล่านะคะเอาไว้ติดตั้งโดยเฉพาะ ซึ่งจะมาพูดถึงการจัดการพาทิชั่นในข้อถัดไปค่ะ ให้เลือก อื่นๆ ตามภาพนะคะ และ ดำเนินการต่อเลยค่ะ



          5.เมื่อเราเข้ามาหน้านี้ก็จะเจอไดร์ฟของเรา ซึ่งกุ้งนางใช้วิธีจำลองการติดตั้งนะคะถึงมีไดร์ฟเดียว แต่จะอธิบายให้ผู้อ่านเข้าใจที่สุดในการแบ่งค่ะ
         - ปกติเรามีไดร์ฟ C ที่ติดตั้ง Windows ไว้อยู่แล้ว สำหรับคนที่ใช้ Windows มาก่อนแล้วอยากติดตั้ง Ubuntu ให้จำขนาดไดร์ฟไว้นะคะ ว่าขนาดเท่าไหร่ ไดร์ฟนี้เราไม่ทำอะไรกับมัน
         - ปกติไดร์ฟเก็บข้อมูลจะเป็น ไดร์ฟ D เราจะไม่ยุ่งกับมันอีกเหมือนกัน หรือถ้าใครไม่เสียดายข้อมูลก็ใช้ไดร์ฟนี้เลยก็ได้ค่ะ
         ****ฉะนั้นก่อนจะเข้ามาติดตั้ง Ubuntu ให้ทำการแบ่งไดร์ฟมาก่อนจากระบบที่คุณใช้นะ อาจจะสร้างไดร์ฟใหม่ชื่อไดร์ฟ E เปล่าๆไว้เลยก็ได้ แต่อย่าตั้งขนาดไดร์ฟเท่ากับไดร์ฟอื่นนะ เดี๋ยวสับสน 
        ****เมื่อคุณได้ไดร์ฟที่ต้องการให้เลือกไดร์ฟนั้นแล้ว บูตเข้ามาทำการติดตั้งตามข้อ 1-5 แล้วคลิกที่เครื่องหมาย - เพื่อลบไดร์ฟนั้นให้เป็นพื้นที่ว่างก่อนคะไปข้อ 6 ได้เลยค่ะ



       6.เมื่อคุณได้พื้นที่ว่างแล้ว ให้เลือกพื้นที่ว่างนั้นแล้วคลิกที่ เครื่องหมาย + เพื่อสร้างพาทิชั่น ครับ
              - ไดร์ฟนี้จะเป็น swap(พื้นที่สลับ) เอาไว้ใช้ตอนแรมไม่พอ แนะนำให้ตั้งขนาด แรมคูณสอง แล้วกด ok ค่ะ



          7. ก็จะได้ไดร์ฟที่เป็นพื้นที่สลับ(swap) มาเรียบร้อย จากนั้นให้เลือกพื้นที่ว่างที่ยังเหลือคลิกที่เครื่องหมาย +เพื่อสร้างพาทิชั่นอีกครั้ง 



         8. ในพาทิชั่นนี้เราจะสร้างไดร์ฟ ext4  ไดร์ฟนี้จะเป็นไดร์ฟสำหรับติดตั้งระบบและเก็บข้อมูลเลยค่ะ อย่าลืมใส่ตำแหน่งเมานท์  /  ด้วยนะคะ  ขนาดที่แนะนำ 20 GB ขึ้นไปค่ะ กด ok เพื่อสร้างเลยค่ะ


    
     9.  จะได้ไดร์ฟใหม่มาอีกไดร์ฟค่ะ ext4 สรุปแล้วได้ดังนี้
       - swap ไดร์ฟพื้นที่สลับเอาไว้ใช้แทน Ram เวลา Ram ไม่พอขนาด Ram*2
       - ext4 ไดร์ฟสำหรับติดตั้งระบบ ขนาดตามใจชอบแต่แนะนะ 20 GB ขึ้นไป

         ****เมื่อแบ่งได้ตามที่สรุปมาก็ ติดตั้งได้เลยค่ะ



         10. มันจะถามอีกครั้งว่าจะทำการบันทึกการเปลี่ยนแปลงดิสดังก์หรือไม่ พร้อมแล้วก็ดำเนินการต่อ หน้าต่อไปมันจะถามโซนให้เลือกเป็นกรุงเทพนะคะ แล้วกดดำเนินการต่อค่ะ



         11. หน้านี้เราก็เลือกผังแป้นพิมพ์ของเรา กุ้งนางก็เลือก Thai --> Thai ค่ะ ดำเนินการต่อได้เลย



        12. หน้านี้ก็จะเป็นการตั้งค่าผู้ใช้ค่ะ ก็ใส่ชื่อผู้ใช้ รหัสผ่านให้ครับถ้วน จากนั้นก็ดำเนินการต่อได้เลย


         13. มันก็จะทำการติดตั้ง เราก็รอ  ปกติก็ติดตั้งไม่นาน



       14.ติดตั้งเสร็จก็ทำการรีบูตเครื่องเลยค่ะหรือจะใช้ต่อก็ตามใจเลย




    เสร็จแล้วค่ะสำหรับการติดตั้งระบบ Ubuntu 15.04  ของเราค่ะ 

สำหรับวันนี้ก็ขอบคุณมากนะคะที่แวะเข้ามาอ่าน วันนี้ก็ลาไปก่อนนะคะ สวัสดีค่ะ


Credit : It's easy : http://itseasys.blogspot.com/2015/05/ubuntu-1504.html